น้ำฝักมะรุม : วิธีต้มน้ำฝักมะรุมสด สรรพคุณ ประโยชน์โทษและข้อควรระวัง สูตรน้ำต้มฝักมะรุม เมนูเครื่องดื่มสุขภาพที่ทำจากฝักมะรุมสด | Moringa Tea | Fit Food
ฝักมะรุม เป็นส่วนหนึ่งของต้นมะรุม ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีสรรพคุณทางยาหลายอย่าง แต่ก็มีข้อควรระวังในการบริโภคเช่นกันค่ะ วันนี้ช่อง Fit Food มีวิธีต้มน้ำฝักมะรุม ดื่มอุ่น ๆ พร้อมมีประโยชน์และวิธีกิน มาฝากกันค่ะ
เมนูจากฝักมะรุม นำไปทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น แกงส้มฝักมะรุม แกงเลียงฝักมะรุม ผัดฝักมะรุมยำฝักมะรุม น้ำต้มฝักมะรุม
สูตรน้ำต้มฝักมะรุม
- ฝักมะรุม 3 ท่อน ( 60 กรัม )- น้ำเปล่า 1 ลิตร
- เกลือแค่ปลายช้อน
วิธีต้มน้ำฝักมะรุม
1. ล้างฝักมะรุมให้สะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนสั้น ๆ2. ต้มน้ำให้เดือด ใส่ฝักมะรุม ต้มประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าฝักมะรุมจะนิ่ม
3. พักให้คลายร้อน ตักเอาแต่น้ำ ดื่มขณะอุ่น ๆ
![]() |
สมุนไพรชามะรุม (ซีด้า) |
สรรพคุณของฝักมะรุม
1. ฝักมะรุมมีสารที่ช่วยไขมันและคอเลสเตอรอล จึงลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด2. ช่วยลดน้ำตาลในเลือด มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ฝักมะรุมอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
3. มีต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายและชะลอความเสื่อมของร่างกาย
4. ช่วยบำรุงกระดูก มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
5. มีวิตามินแร่ธาตุสูง ฝักมะรุมเป็นแหล่งของวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม และธาตุเหล็ก
ข้อควรระวังในการดื่ม น้ำต้มฝักมะรุม
การดื่มน้ำต้มฝักมะรุมอุ่น ๆ ช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารอาหารในฝักมะรุมได้ง่ายขึ้น แต่ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ดื่มมากเกินไปโดยปริมาณการดื่มน้ำต้มฝักมะรุมต่อวัน ไม่มีกำหนดไว้แน่ชัด ควรเริ่มต้นจากปริมาณน้อย ๆ ก่อน เช่น 1 แก้วต่อวัน และสังเกตอาการ หากไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ จึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณได้
และไม่ควรหวังผลจากการรับประทานมะรุมเพื่อรักษาโรค ควรรับประทานมะรุมเป็นส่วนประกอบของอาหารในชีวิตประจำวันเท่านั้น
โทษและข้อควรระวัง ในการกินฝักมะรุม
- สตรีมีครรภ์ ควรเลี่ยงการกินมะรุมในปริมาณมาก เพราะมดลูกอาจบีบตัวเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้- ผู้ป่วยโรคเกาต์ ไม่ควรบริโภคในปริมาณมากเพราะมีโปรตีนสูง
- ผู้ป่วยโรคเลือด ไม่ควรรับประทานมะรุม เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกได้ง่าย
- ผลข้างเคียงจากการกินฝักมะรุมในปริมาณมาก อาจทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- หากบริโภคมะรุมต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่กินมะรุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน พบค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น
![]() |
ชามะรุม ณัชชาเฮิร์บ 1 ห่อ 30 ซอง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น